ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ  (อ่าน 3530 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ryan_E46

  • บุคคลในตำนาน
  • ******
  • กระทู้: 1754
ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ
« เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 12:13:09 »
เมื่อวานจังหวะขับรถเลี้ยวหักศอกขึ้นลานจอดรถ สังเกตเห็นไฟ ASC กระพริบประมาณ 2 ครั้ง เอาแล้ว ๆ ๆ  :o
ไปเปิดคู่มือ มันบอกว่าถ้าไฟกระพริบแสดงว่า ASC กำลังทำงาน  O0
แบบนี้เป็นปกติใช่มั้ยครับ แล้วผมต้องเอารถเข้าไปเช็คอะไรมั้ยครับ
ขอบคุณครับ

Krisada511

  • คิดว่าดีก็ทำต่อไป
  • Global Moderator
  • บุคคลในตำนาน
  • *****
  • กระทู้: 13170
  • 325i M-Sport-N52k
    • http://www.subaruxvthailand.com/
Re: ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 13:08:51 »
ขอแสดงความยินดีครับ ระบบ ASC ของคุณยังทำงาน

----------------------------------------------------------

อ่านเยอะนิดครับ ถ้าอยากทราบเพิ่ม  :-*

ABS/ASC
ระบบควบคุมการสลิปได้รับการติดตั้งไว้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ระบบดังกล่าวช่วยให้คนขับสามารถรักษาเสถียรภาพ และความสามารถในการบังคับเลี้ยวของรถยนต์ได้ เมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

ระบบ ABS/ASC
รถยนต์รุ่น E46 ทุกคันจะได้รับการติดตั้งระบบ ABS/ASC เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน DSC III ซึ่งเป็นที่รู้จักจากรุ่น E38/39 จะมีให้เลือกเป็นออปชั่นพิเศษในรถยนต์รุ่น 2.8 l ระบบจากบริษัท ITT INDUSTRIES (ก่อนหน้านี้คือ Teves) จะใช้ในรุ่น E46

ระบบดังต่อไปนี้ได้รับการติดตั้งไว้ ร่วมกับเครื่องยนต์ในแต่ละประเภท :

•โมเดล 4 สูบ (M43) : ระบบ ABS/ASC-EZA (การขัดจังหวะการเบรค และการขัดจังหวะเครื่องยนต์ ที่ไม่มีชุดควบคุมปีกผีเสื้อ)

•โมเดล 4 สูบ M47 : ระบบ ABS/ASC พร้อมการขัดจังหวะการเบรค และชุดควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง

•โมเดล 6 สูบ M52 : ระบบ ABS/ASC-EZA (การขัดจังหวะการเบรค และการขัดจังหวะเครื่องยนต์พร้อมชุดควบคุมปีกผีเสื้อ)

คุณสมบัติด้านเทคนิค
ASC Mk20 EI :

ความแตกต่างระหว่าง ASC MK20 EI และ ASC MK4G อยู่ที่การรวมชุดไฮดรอลิคแ ละชุดควบคุมเข้าเป็นชุดเดียวกัน

ในกรณีที่ต้องซ่อม สามารถเปลี่ยนเฉพาะชุดไฮดรอลิค และชุดควบคุมได้ ! หลังจากการเปลี่ยนชุดควบคุม หรือชุด ABS/ASC ทั้งชุด ต้องให้รหัสชุดควบคุมชุดใหม่ด้วย

 

โดยพื้นฐานแล้ว ฟังก์ชั่นระบบ ABS และ ASC ยังคงเหมือนเดิม และตรงกับระบบ ABS/ASC MK4G โมเดล 6 สูบ จะประกอบด้วยลิ้นปีกผีเสื้อซึ่งควบคุมด้วยแอ๊คทูเอเตอร์ (MDK) ลิ้นปีกผีเสื้อซึ่งควบคุมด้วยแอ๊คทูเอเตอร์ จะรวมปีกผีเสื้อและโช๊คไว้เป็นอุปกรณ์ชุดเดียวกัน

ฟังก์ชั่นใหม่
ชุดควบคุมเบรคขณะเข้าโค้ง (CBC:) ชุดควบคุมเบรคขณะเข้าโค้ง จะช่วยให้รถยนต์มีเสถียรภาพ เมื่อเหยียบเบรคขณะเข้าโค้ง

การกระจายแรงเบรคแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EBV) : ฟังก์ชั่น EBV จะบันทึกความหน่วงของล้อหน้าและล้อหลังไว้ และนำมาเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน โดยวิธีนี้ ทำให้สามารถปรับการเบรคของล้อหน้าและล้อหลัง ให้เหมาะสมสัมพันธ์กับกับสภาพการบรรทุก

โครงสร้างระบบ ASC
ชุดไฮดรอลิคจะยึดเข้ากับชุดควบคุม เพื่อให้เป็นชุดสำเร็จรูปหนึ่งชุด ชุดไฮดรอลิคประกอบด้วยตัวเรือนอะลูมิเนียม ซึ่งรองรับวาล์วและปั๊มสูบกลับ และจะมีโซลินอยวาล์ว 9 ตัว และวาล์วที่เปิดปิดโดยไฮดรอลิคอีกหนึ่งตัว จัดเรียงไว้ในตัวเรือน :

- วาล์วไอดี (แบบไฟฟ้า) 4 ตัว

- วาล์วออก (แบบไฟฟ้า) 4 ตัว

- วาล์วเปลี่ยนทาง (แบบไฟฟ้า) 1 ตัว พร้อมวาล์วระบายความดันรวมในชุด

- วาล์วชาร์จ (ไฮดรอลิค) 1 ตัว

เซ็นเซอร์ความเร็วล้อพร้อมล้อกำเนิดสัญญาณพัลส์
ระบบจะทำงานด้วยเซ็นเซอร์ความเร็วล้อแบบพาสซีฟ 4 ตัว ฟังก์ชั่นและการออกแบบจะเหมือนกับใน E36

เอาต์พุตสัญญาณความเร็ว : สัญญาณความเร็วด้านหลังซ้ายและด้านหลังขวา จะได้รับการตรวจจับโดยเซ็นเซอร์ความเร็วที่ตรงกัน และมีการประมวลผลในชุดควบคุม และส่งเอาต์พุตอีกครั้งเป็นสัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยม

จะมีการใช้สัญญาณความเร็วด้านหลังซ้าย เป็นสัญญาณความเร็วในการขับขี่บนแผงหน้าปัด

สัญญาณความเร็วล้อหลังด้านขวา ทำหน้าที่เป็นสัญญาณอินพุตสำหรับชุดควบคุมอื่น เช่น AGS

สวิตช์ไฟเบรค (BLS)
จำเป็นต้องใช้สวิตช์ไฟเบรค (แอคทีฟ) เพื่อตรวจจับการทำงานของเบรค ในระหว่างการควบคุมและหยุดการควบคุมระบบ ASC ตามลำดับ

ในโหมด ABS สัญญาณจากสวิตช์ไฟเบรคจะใช้เป็นตัวแปรอินพุต เพื่อเพิ่มความสะดวกในการควบคุม

สวิตช์ไฟเบรคแบบพาสซีฟ ยังคงมีใช้อยู่ในรถยนต์ E36 รหัสประเภทของสวิตช์ไฟเบรคที่ใช้ (แอคทีฟ/พาสซีฟ) สามารถทำการให้รัสได้ในชุดควบคุม

ปุ่ม ASC
ปุ่มนี้ใช้เพื่อการตัดออกและการเปิดการทำงานในระบบ ASC ถ้ามีการกดสวิตช์ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน สัญญาณ 12 โวลท์จะส่งไปยังชุดควบคุม และระบบจะหยุดการทำงาน ระบบจะทำงานอีกครั้ง โดยการกดปุ่ม ASC ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ถ้ามีการหยุดการทำงานของรถยนต์ (ดับเครื่องยนต์) พร้อมกับหยุดการทำงานระบบ ASC ระบบจะทำงานอีกครั้ง เมื่อเทอร์มินอล 15 เริ่มทำงานใหม่

แผงหน้าปัด พร้อมหลอดไฟ ABS/ASC/ABL
ไฟแสดงทั้งสามชุดในแผงหน้าปัด จะใช้ในการตรวจสถานะของฟังก์ชั่นต่างๆ :

- หลอดไฟ ABS

- หลอดไฟ ASC

- หลอดไฟ ABL (ไฟเตือนเบรคทั่วไป)

หลอดไฟ ABS
จะมีการสั่งงานหลอดไฟ ABS โดยตรง จากชุดควบคุมผ่านสายที่แยกต่างหาก :

- หลอดไฟ ABS จะติดสว่างประมาณ 2 วินาที ขณะที่เทอร์มินอล 15 "ON" (การตรวจเช็คด้วยหลอดไฟ)

- หลอดไฟ ABS จะติดสว่างขึ้น ขณะที่เทอร์มินอล 15 "ON" และเมื่อพบความผิดปกติของ ABS

- หลอดไฟ ABS จะดับลง เมื่อ ABS เป็นปกติ

ถ้าระบบ ABS ตรวจพบความผิดปกติ แผงหน้าปัดจะรับรู้สถานะความผิดปกติดังกล่าวได้ เมื่อเป็นสถานะ "ระดับสูง" และสั่งให้หลอดไฟ ABS ทำงาน สามารถตรวจพบชุดควบคุมที่เกิดความบกพร่อง หรือที่ไม่ได้ต่อเข้า ได้โดยวิธีนี้ด้วย หลอดไฟ ASC จะทำงาน ในกรณีที่ ABS ผิดปกติด้วยเช่นกัน

หลอดไฟ ASC
หลอดไฟ ASC จะทำงานผ่าน CAN บัส :

- หลอดไฟ ASC ติดสว่างขึ้นประมาณ 2 วินาที ขณะเทอร์มินอล 15 "ON" (การตรวจเช็คด้วยหลอดไฟ)

- หลอดไฟ ASC ดับลง เมื่อระบบ ASC เป็นปกติ

- หลอดไฟ ASC กระพริบที่ความถี่ 3 Hz เมื่อระบบ ASC ทำงาน

- หลอดไฟ ASC ติดสว่างขึ้น ขณะที่เทอร์มินอล 15 "ON" เมื่อระบบ ASC ไม่ทำงาน เนื่องจากการทำงานผิดพลาด หรือเมื่อมีการหยุดการทำงาน ด้วยสวิตซ์ ASC

หลอดไฟ ABL
หลอดไฟ ABL (ไฟเตือนเบรคทั่วไป) จะตรวจสถานะฟังก์ชั่นที่แตกต่างกันสามฟังก์ชั่น หลอดไฟติดสว่างขึ้นเมื่อ :

- ดึงเบรคมือ

- ระดับน้ำมันเบรคในถังเก็บต่ำเกินไป

- ชุดควบคุม CBC หรือ EBV ไม่ทำงาน (เช่น ชุดควบคุมเพลาหลัง ชำรุดเสียหาย)

CAN บัส
ชุดควบคุม ASC จะติดต่อกับชุดควบคุม DME และ AGS (ถ้ามีติดตั้งไว้) รวมทั้งแผงหน้าปัด ผ่านทาง CAN บัส ชุดควบคุม ASC ส่งข้อมูล การทำงาน/การหยุดการทำงาน ของหลอดไฟ ASC และ ABL ไปยังแผงหน้าปัด

DME จะแจ้งให้ชุดควบคุม ABS/ASC ทราบว่าแรงบิดเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์กัน มีมากเท่าใด เมื่อชุดควบคุมทำงาน ชุดควบคุม ABS/ASC จะแสดงให้ชุดควบคุม DME รู้ว่าจะลดแรงบิดได้หรือไม่ และลดลงได้เท่าไร

เมื่อชุดควบคุมทำงาน ชุดควบคุม AGS (ระบบควบคุมระบบเกียร์แบบปรับด้วยตัวเอง) รับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน จากชุดควบคุม ABS/ASC ในกรณีนี้ สามารถที่จะรับรู้ลักษณะการเปลี่ยนเกียร์แบบอื่น เพื่อป้องเกียร์อัตโนมัติเปลี่ยนเกียร์ขึ้นและลงตลอดเวลา

หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค
วาล์วไอดีและวาล์วเปลี่ยนทางทั้งหมด จะเปิดเมื่อไม่มีการจ่ายไฟ วาล์วออกจะปิด เมื่อไม่มีการจ่ายไฟ วาล์วชาร์จปิดโดยไฮดรอลิค เมื่อมีการเหยียบเบรค หรือมิฉะนั้นจะเปิด

ในระหว่างการควบคุมระบบ ABS ปั๊มจะจ่ายน้ำมันเบรคกลับเข้าไปในแม่ปั๊มเบรค โดยในระหว่างการควบคุมระบบ ASC ที่มีการขัดจังหวะการเบรค ปั๊มจะสร้างความดันเบรคที่จำเป็นขึ้น จะมีการติดตั้งวาล์วเปลี่ยนทางและวาล์วชาร์จ ไว้กับระบบเบรคของเพลาหลัง ปั๊มสูบกลับระบบ ABS สามารถสร้างความดันเบรคที่จำเป็น ร่วมกับวาล์วทั้งสองนี้เท่านั้น ในระหว่างเฟสการควบคุมระบบ ASC ที่มีการขัดจังหวะการเบรค

การควบคุมแรงบิดของระบบควบคุมเสถียรภาพโดยอัตโนมัติ
หลักการพื้นฐานของระบบ ASC รุ่น Mk 20 El จะเหมือนกันทุกโมเดล ความแตกต่างอยู่ที่ประเภทของชุดควบคุมแรงบิดเครื่องยนต์ ในเครื่องยนต์ M43 การควบคุมจะขึ้นอยู่กับการปรับจังหวะการจุดระเบิด และช่วงการหยุดทำงานของกระบอกสูบแต่ละตัว มีการควบคุมเครื่องยนต์ M52 โดยใช้ชุดควบคุมปีกผีเสื้อ การปรับจังหวะการจุดระเบิด และการหยุดทำงานของกระบอกสูบแต่ละตัว ในเครื่องยนต์ดีเซล M47 มีการควบคุมแรงบิดโดยใช้การเปลี่ยนแปลงปริมาณการฉีดเชื้อเพลิง

การควบคุมโมเมนต์แรงฉุดเครื่องยนต์ (MSR)
ฟังก์ชั่นการควบคุมโมเมนต์การฉุดเครื่องยนต์ จะรวมอยู่ใน Mk 20 El ด้วย MSR จะขัดจังหวะการทำงาน ในกรณีที่มีการสลิปของล้อมากเกินไป เมื่อปล่อยให้เครื่องยนต์วิ่งต่อโดยไม่เหยียบคันเร่ง หรือเมื่อคนขับเปลี่ยนเกียร์ต่ำลง ซึ่งจะควบคุมโมเมนต์การฉุดเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันการสลิปมากเกินไปของล้อที่เพลาขับ

ฟังก์ชั่นควบคุมระบบ ABS/ASC
ชุดควบคุมเริ่มการทดสอบตัวเอง เมื่อเทอร์มินอล 15 เปิด ถ้าไม่พบความผิดปกติ การทำตรวจเช็คครั้งต่อไปที่ประมาณ 20 km/h ซึ่งจะมีการสั่งงานโซลินอยด์วาล์วทั้งหมด และปั๊ม ABS/ASC ถ้าการทดสอบนี้ยังคงเป็นปกติ แสดงว่าระบบพร้อมสำหรับการทำงาน

ชุดควบคุมจะตรวจจับว่า ต้องใช้การเบรคที่ควบคุมด้วยระบบ ABS หรือควบคุมด้วย ASC หรือไม่ โดยอาศัยการทำงานของเซ็นเซอร์ความเร็วล้อ

การควบคุมด้วยระบบ ABS จะเริ่มทำงาน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนเส้นรอบวงล้อ หรือถ้าเกินจุดเปลี่ยนค่าสลิปที่กำหนดไว้ ในขณะเบรค

การควบคุมด้วยระบบ ASC จะเริ่มทำงาน ถ้าล้อขับเคลื่อนสลิปไปทางด้านบวกมากเกินไป ในช่วงการเร่งเครื่อง

การเบรคที่ควบคุมด้วยระบบ ABS เกิดขึ้นตามหลักการควบคุมที่รู้จักกันโดยทั่วไป : การควบคุมแรงดันเบรคที่ล้อหน้าแต่ละล้อ และการควบคุมที่เพลาหลังแบบร่วมกัน

ถ้าชุดควบคุม ASC ตรวจพบว่า การสลิปของล้อขับเคลื่อนสูงเกินไป ชุดควบคุมสามารถทำให้เพลาขับมีเสถียรภาพอีกครั้งได้ โดยอาศัยการขัดจังหวะเครื่องยนต์ และ/หรือ การขัดจังหวะการเบรค

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2013, 00:07:56 โดย Krisada511 »
สิ่งที่สมบูรณ์แล้วโดยแท้ มันก็มีความบกพร่องอยู่ สิ่งที่บกพร่องอยู่ แท้จริงมันก็สมบูรณ์ดีอยู่แล้ว / ขอแนะนำเวปส่วนตัว ไม่อนุญาตให้คุณมองเห็นลิงค์ สมัครสมาชิก หรือ ล็อกอิน

OaTt

  • แฟนพันธุ์แท้
  • *****
  • กระทู้: 1530
Re: ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 13:23:31 »
ไม่อนุญาตให้คุณมองเห็นลิงค์ สมัครสมาชิก หรือ ล็อกอิน
ขอแสดงความยินดีครับ ระบบ ASC ของคุณยังทำงาน

----------------------------------------------------------

อ่านเยอะนิดครับ ถ้าอยากทราบเพิ่ม  :-*

ABS/ASC
ระบบควบคุมการสลิปได้รับการติดตั้งไว้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ระบบดังกล่าวช่วยให้คนขับสามารถรักษาเสถียรภาพ และความสามารถในการบังคับเลี้ยวของรถยนต์ได้ เมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

ระบบ ABS/ASC
รถยนต์รุ่น E46 ทุกคันจะได้รับการติดตั้งระบบ ABS/ASC เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน DSC III ซึ่งเป็นที่รู้จักจากรุ่น E38/39 จะมีให้เลือกเป็นออปชั่นพิเศษในรถยนต์รุ่น 2.8 l ระบบจากบริษัท ITT INDUSTRIES (ก่อนหน้านี้คือ Teves) จะใช้ในรุ่น E46

ระบบดังต่อไปนี้ได้รับการติดตั้งไว้ ร่วมกับเครื่องยนต์ในแต่ละประเภท :

•โมเดล 4 สูบ (M43) : ระบบ ABS/ASC-EZA (การขัดจังหวะการเบรค และการขัดจังหวะเครื่องยนต์ ที่ไม่มีชุดควบคุมปีกผีเสื้อ)

•โมเดล 4 สูบ M47 : ระบบ ABS/ASC พร้อมการขัดจังหวะการเบรค และชุดควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง

•โมเดล 6 สูบ M52 : ระบบ ABS/ASC-EZA (การขัดจังหวะการเบรค และการขัดจังหวะเครื่องยนต์พร้อมชุดควบคุมปีกผีเสื้อ)

คุณสมบัติด้านเทคนิค
ASC Mk20 EI :

ความแตกต่างระหว่าง ASC MK20 EI และ ASC MK4G อยู่ที่การรวมชุดไฮดรอลิคแ ละชุดควบคุมเข้าเป็นชุดเดียวกัน

ในกรณีที่ต้องซ่อม สามารถเปลี่ยนเฉพาะชุดไฮดรอลิค และชุดควบคุมได้ ! หลังจากการเปลี่ยนชุดควบคุม หรือชุด ABS/ASC ทั้งชุด ต้องให้รหัสชุดควบคุมชุดใหม่ด้วย

 

โดยพื้นฐานแล้ว ฟังก์ชั่นระบบ ABS และ ASC ยังคงเหมือนเดิม และตรงกับระบบ ABS/ASC MK4G โมเดล 6 สูบ จะประกอบด้วยลิ้นปีกผีเสื้อซึ่งควบคุมด้วยแอ๊คทูเอเตอร์ (MDK) ลิ้นปีกผีเสื้อซึ่งควบคุมด้วยแอ๊คทูเอเตอร์ จะรวมปีกผีเสื้อและโช๊คไว้เป็นอุปกรณ์ชุดเดียวกัน

ฟังก์ชั่นใหม่
ชุดควบคุมเบรคขณะเข้าโค้ง (CBC:) ชุดควบคุมเบรคขณะเข้าโค้ง จะช่วยให้รถยนต์มีเสถียรภาพ เมื่อเหยียบเบรคขณะเข้าโค้ง

การกระจายแรงเบรคแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EBV) : ฟังก์ชั่น EBV จะบันทึกความหน่วงของล้อหน้าและล้อหลังไว้ และนำมาเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน โดยวิธีนี้ ทำให้สามารถปรับการเบรคของล้อหน้าและล้อหลัง ให้เหมาะสมสัมพันธ์กับกับสภาพการบรรทุก

โครงสร้างระบบ ASC
ชุดไฮดรอลิคจะยึดเข้ากับชุดควบคุม เพื่อให้เป็นชุดสำเร็จรูปหนึ่งชุด ชุดไฮดรอลิคประกอบด้วยตัวเรือนอะลูมิเนียม ซึ่งรองรับวาล์วและปั๊มสูบกลับ และจะมีโซลินอยวาล์ว 9 ตัว และวาล์วที่เปิดปิดโดยไฮดรอลิคอีกหนึ่งตัว จัดเรียงไว้ในตัวเรือน :

- วาล์วไอดี (แบบไฟฟ้า) 4 ตัว

- วาล์วออก (แบบไฟฟ้า) 4 ตัว

- วาล์วเปลี่ยนทาง (แบบไฟฟ้า) 1 ตัว พร้อมวาล์วระบายความดันรวมในชุด

- วาล์วชาร์จ (ไฮดรอลิค) 1 ตัว

เซ็นเซอร์ความเร็วล้อพร้อมล้อกำเนิดสัญญาณพัลส์
ระบบจะทำงานด้วยเซ็นเซอร์ความเร็วล้อแบบพาสซีฟ 4 ตัว ฟังก์ชั่นและการออกแบบจะเหมือนกับใน E36

เอาต์พุตสัญญาณความเร็ว : สัญญาณความเร็วด้านหลังซ้ายและด้านหลังขวา จะได้รับการตรวจจับโดยเซ็นเซอร์ความเร็วที่ตรงกัน และมีการประมวลผลในชุดควบคุม และส่งเอาต์พุตอีกครั้งเป็นสัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยม

จะมีการใช้สัญญาณความเร็วด้านหลังซ้าย เป็นสัญญาณความเร็วในการขับขี่บนแผงหน้าปัด

สัญญาณความเร็วล้อหลังด้านขวา ทำหน้าที่เป็นสัญญาณอินพุตสำหรับชุดควบคุมอื่น เช่น AGS

สวิตช์ไฟเบรค (BLS)
จำเป็นต้องใช้สวิตช์ไฟเบรค (แอคทีฟ) เพื่อตรวจจับการทำงานของเบรค ในระหว่างการควบคุมและหยุดการควบคุมระบบ ASC ตามลำดับ

ในโหมด ABS สัญญาณจากสวิตช์ไฟเบรคจะใช้เป็นตัวแปรอินพุต เพื่อเพิ่มความสะดวกในการควบคุม

สวิตช์ไฟเบรคแบบพาสซีฟ ยังคงมีใช้อยู่ในรถยนต์ E36 รหัสประเภทของสวิตช์ไฟเบรคที่ใช้ (แอคทีฟ/พาสซีฟ) สามารถทำการให้รัสได้ในชุดควบคุม

ปุ่ม ASC
ปุ่มนี้ใช้เพื่อการตัดออกและการเปิดการทำงานในระบบ ASC ถ้ามีการกดสวิตช์ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน สัญญาณ 12 โวลท์จะส่งไปยังชุดควบคุม และระบบจะหยุดการทำงาน ระบบจะทำงานอีกครั้ง โดยการกดปุ่ม ASC ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ถ้ามีการหยุดการทำงานของรถยนต์ (ดับเครื่องยนต์) พร้อมกับหยุดการทำงานระบบ ASC ระบบจะทำงานอีกครั้ง เมื่อเทอร์มินอล 15 เริ่มทำงานใหม่

แผงหน้าปัด พร้อมหลอดไฟ ABS/ASC/ABL
ไฟแสดงทั้งสามชุดในแผงหน้าปัด จะใช้ในการตรวจสถานะของฟังก์ชั่นต่างๆ :

- หลอดไฟ ABS

- หลอดไฟ ASC

- หลอดไฟ ABL (ไฟเตือนเบรคทั่วไป)

หลอดไฟ ABS
จะมีการสั่งงานหลอดไฟ ABS โดยตรง จากชุดควบคุมผ่านสายที่แยกต่างหาก :

- หลอดไฟ ABS จะติดสว่างประมาณ 2 วินาที ขณะที่เทอร์มินอล 15 "ON" (การตรวจเช็คด้วยหลอดไฟ)

- หลอดไฟ ABS จะติดสว่างขึ้น ขณะที่เทอร์มินอล 15 "ON" และเมื่อพบความผิดปกติของ ABS

- หลอดไฟ ABS จะดับลง เมื่อ ABS เป็นปกติ

ถ้าระบบ ABS ตรวจพบความผิดปกติ แผงหน้าปัดจะรับรู้สถานะความผิดปกติดังกล่าวได้ เมื่อเป็นสถานะ "ระดับสูง" และสั่งให้หลอดไฟ ABS ทำงาน สามารถตรวจพบชุดควบคุมที่เกิดความบกพร่อง หรือที่ไม่ได้ต่อเข้า ได้โดยวิธีนี้ด้วย หลอดไฟ ASC จะทำงาน ในกรณีที่ ABS ผิดปกติด้วยเช่นกัน

หลอดไฟ ASC
หลอดไฟ ASC จะทำงานผ่าน CAN บัส :

- หลอดไฟ ASC ติดสว่างขึ้นประมาณ 2 วินาที ขณะเทอร์มินอล 15 "ON" (การตรวจเช็คด้วยหลอดไฟ)

- หลอดไฟ ASC ดับลง เมื่อระบบ ASC เป็นปกติ

- หลอดไฟ ASC กระพริบที่ความถี่ 3 Hz เมื่อระบบ ASC ทำงาน

- หลอดไฟ ASC ติดสว่างขึ้น ขณะที่เทอร์มินอล 15 "ON" เมื่อระบบ ASC ไม่ทำงาน เนื่องจากการทำงานผิดพลาด หรือเมื่อมีการหยุดการทำงาน ด้วยสวิตซ์ ASC

หลอดไฟ ABL
หลอดไฟ ABL (ไฟเตือนเบรคทั่วไป) จะตรวจสถานะฟังก์ชั่นที่แตกต่างกันสามฟังก์ชั่น หลอดไฟติดสว่างขึ้นเมื่อ :

- ดึงเบรคมือ

- ระดับน้ำมันเบรคในถังเก็บต่ำเกินไป

- ชุดควบคุม CBC หรือ EBV ไม่ทำงาน (เช่น ชุดควบคุมเพลาหลัง ชำรุดเสียหาย)

CAN บัส
ชุดควบคุม ASC จะติดต่อกับชุดควบคุม DME และ AGS (ถ้ามีติดตั้งไว้) รวมทั้งแผงหน้าปัด ผ่านทาง CAN บัส ชุดควบคุม ASC ส่งข้อมูล การทำงาน/การหยุดการทำงาน ของหลอดไฟ ASC และ ABL ไปยังแผงหน้าปัด

DME จะแจ้งให้ชุดควบคุม ABS/ASC ทราบว่าแรงบิดเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์กัน มีมากเท่าใด เมื่อชุดควบคุมทำงาน ชุดควบคุม ABS/ASC จะแสดงให้ชุดควบคุม DME รู้ว่าจะลดแรงบิดได้หรือไม่ และลดลงได้เท่าไร

เมื่อชุดควบคุมทำงาน ชุดควบคุม AGS (ระบบควบคุมระบบเกียร์แบบปรับด้วยตัวเอง) รับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน จากชุดควบคุม ABS/ASC ในกรณีนี้ สามารถที่จะรับรู้ลักษณะการเปลี่ยนเกียร์แบบอื่น เพื่อป้องเกียร์อัตโนมัติเปลี่ยนเกียร์ขึ้นและลงตลอดเวลา

หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค
วาล์วไอดีและวาล์วเปลี่ยนทางทั้งหมด จะเปิดเมื่อไม่มีการจ่ายไฟ วาล์วออกจะปิด เมื่อไม่มีการจ่ายไฟ วาล์วชาร์จปิดโดยไฮดรอลิค เมื่อมีการเหยียบเบรค หรือมิฉะนั้นจะเปิด

ในระหว่างการควบคุมระบบ ABS ปั๊มจะจ่ายน้ำมันเบรคกลับเข้าไปในแม่ปั๊มเบรค โดยในระหว่างการควบคุมระบบ ASC ที่มีการขัดจังหวะการเบรค ปั๊มจะสร้างความดันเบรคที่จำเป็นขึ้น จะมีการติดตั้งวาล์วเปลี่ยนทางและวาล์วชาร์จ ไว้กับระบบเบรคของเพลาหลัง ปั๊มสูบกลับระบบ ABS สามารถสร้างความดันเบรคที่จำเป็น ร่วมกับวาล์วทั้งสองนี้เท่านั้น ในระหว่างเฟสการควบคุมระบบ ASC ที่มีการขัดจังหวะการเบรค

การควบคุมแรงบิดของระบบควบคุมเสถียรภาพโดยอัตโนมัติ
หลักการพื้นฐานของระบบ ASC รุ่น Mk 20 El จะเหมือนกันทุกโมเดล ความแตกต่างอยู่ที่ประเภทของชุดควบคุมแรงบิดเครื่องยนต์ ในเครื่องยนต์ M43 การควบคุมจะขึ้นอยู่กับการปรับจังหวะการจุดระเบิด และช่วงการหยุดทำงานของกระบอกสูบแต่ละตัว มีการควบคุมเครื่องยนต์ M52 โดยใช้ชุดควบคุมปีกผีเสื้อ การปรับจังหวะการจุดระเบิด และการหยุดทำงานของกระบอกสูบแต่ละตัว ในเครื่องยนต์ดีเซล M47 มีการควบคุมแรงบิดโดยใช้การเปลี่ยนแปลงปริมาณการฉีดเชื้อเพลิง

การควบคุมโมเมนต์แรงฉุดเครื่องยนต์ (MSR)
ฟังก์ชั่นการควบคุมโมเมนต์การฉุดเครื่องยนต์ จะรวมอยู่ใน Mk 20 El ด้วย MSR จะขัดจังหวะการทำงาน ในกรณีที่มีการสลิปของล้อมากเกินไป เมื่อปล่อยให้เครื่องยนต์วิ่งต่อโดยไม่เหยียบคันเร่ง หรือเมื่อคนขับเปลี่ยนเกียร์ต่ำลง ซึ่งจะควบคุมโมเมนต์การฉุดเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันการสลิปมากเกินไปของล้อที่เพลาขับ

ฟังก์ชั่นควบคุมระบบ ABS/ASC
ชุดควบคุมเริ่มการทดสอบตัวเอง เมื่อเทอร์มินอล 15 เปิด ถ้าไม่พบความผิดปกติ การทำตรวจเช็คครั้งต่อไปที่ประมาณ 20 km/h ซึ่งจะมีการสั่งงานโซลินอยด์วาล์วทั้งหมด และปั๊ม ABS/ASC ถ้าการทดสอบนี้ยังคงเป็นปกติ แสดงว่าระบบพร้อมสำหรับการทำงาน

ชุดควบคุมจะตรวจจับว่า ต้องใช้การเบรคที่ควบคุมด้วยระบบ ABS หรือควบคุมด้วย ASC หรือไม่ โดยอาศัยการทำงานของเซ็นเซอร์ความเร็วล้อ

การควบคุมด้วยระบบ ABS จะเริ่มทำงาน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนเส้นรอบวงล้อ หรือถ้าเกินจุดเปลี่ยนค่าสลิปที่กำหนดไว้ ในขณะเบรค

การควบคุมด้วยระบบ ASC จะเริ่มทำงาน ถ้าล้อขับเคลื่อนสลิปไปทางด้านบวกมากเกินไป ในช่วงการเร่งเครื่อง

การเบรคที่ควบคุมด้วยระบบ ABS เกิดขึ้นตามหลักการควบคุมที่รู้จักกันโดยทั่วไป : การควบคุมแรงดันเบรคที่ล้อหน้าแต่ละล้อ และการควบคุมที่เพลาหลังแบบร่วมกัน

ถ้าชุดควบคุม ASC ตรวจพบว่า การสลิปของล้อขับเคลื่อนสูงเกินไป ชุดควบคุมสามารถทำให้เพลาขับมีเสถียรภาพอีกครั้งได้ โดยอาศัยการขัดจังหวะเครื่องยนต์ และ/หรือ การขัดจังหวะการเบรค



 :-X ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ยาวมาก :))  ของผมก็เป็นครับ เวลาเหมือนเวลาชั่วขณะที่รอเสียการทรงตัว มันจะขึ้นมาแว๊บนึงแล้วดับไปครับ เล่นเอาใจหายแวบบบบ  ;D

Ryan_E46

  • บุคคลในตำนาน
  • ******
  • กระทู้: 1754
Re: ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 13:24:27 »
โอ้โห ความรู้แน่นปึ้กครับ ขอบคุณมากครับพี่ Krisada
พอดีว่าผมไม่มีคู่มือภาษาไทย เลย download ภาษาอังกฤษมาอ่านแบบงูๆ ปลาๆ ครับ
ไม่ทราบว่าาคู่มือภาษาไทยละเอียดๆ แบบนี้ พอจะมีแหล่ง download มาให้อ่านมั่งมั้ยครับ
ขอบคุณครับ

SweeTKhaI

  • คนคุ้นเคย
  • ***
  • กระทู้: 99
  • BMW E46 323IA Normally
Re: ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 15:17:54 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับพี่ ต้องรวบรวมเก็ยไว้อย่างดีซะแล้วละครับ... ::) ::) ::)

ooooatooo

  • บุคคลในตำนาน
  • ******
  • กระทู้: 2796
    • http://www.clube46.com
Re: ไฟ ASC กระพริบ นี่ปกติรึเปล่าครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 15:47:13 »
เวลาท้ายปัด หรือเวลา ABS ทำงาน มันจะกระพริบพรึ่บๆครับ เกิดกับผมบ่อย เพราะขับรถแบบว่า...นะ
ไม่อนุญาตให้คุณมองเห็นลิงค์ สมัครสมาชิก หรือ ล็อกอิน