อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ แต่อีกกระทู้ผมก็อปเขามาทั้งดุ้นให้อยู่หน้าเดียวเลยทำให้เปิดไม่ได้ เลยลองใหม่ลงเป็นช่วงๆแบบเขาดีกว่าครับ

================================================================================
THAIDRIVER • A/F Ratio สำหรับแก๊สโซลีน 100% ที่ทำให้ได้ไอเสีย สะอาดที่สุด คือ 14.7:1 อยากถามว่าทำไมต้องเป็น 14.7
อ. ศิริบูรณ์ • เราใช้ A/F Ratio 14.7 เมื่อต้องการ Clean Airและใช้ 12.5:1 เมื่อต้องการ Full Power สูตรเคมีพิสูจน์แล้วว่าถ้าอยากได้ Clean Burning ส่วนผสมไอดี A/F 14.7 จะสะอาดที่สุดเพราะเป็นการสันดาปที่ไม่มี Un-burned Hydrocarbon ออกซิเจน คาร์บอน และไฮโดรเจน ที่ถูกนำเข้ามาในฝาสูบแล้วเผาไหม้ในอัตราส่วน ผสม A/F 14.7:1 จะมีละอองน้ำพ่นออกปลายท่อไอเสีย
THAIDRIVER • แก๊สโซลีนที่ใช้ในปัจจุบันก็ไม่บริสุทธิ์ 100% แต่มีสารอื่น ผสมอยู่ด้วย เช่น เอธานอล เมธานอล หรือ MTBE
อ. ศิริบูรณ์ • เมื่อไม่ใช่ Pure Gasoline อัตราส่วนที่เหมาะสมจริงๆ ก็จะเพี้ยนไปบ้าง แต่จะไปทางไหนต้องสังเกตว่าสารที่มาผสมนั้นพาไปทางไหน เช่น ถ้าผสมด้วยเอธานอลซึ่งชอบ A/F 9:1 หรือ เมธานอลซึ่งชอบ A/F ‘Gasoline ลูกผสม’ ก็จะต้องการส่วนผสมเอียงไปทาง ‘แก่ขึ้น’
THAIDRIVER • สารที่มาผสมกับแก๊สโซลีนส่วนมากชอบ A/F Ratio ต่ำกว่าแก๊สโซลีน แสดงว่าเครื่องยนต์ก็น่าจะต้องการ A/F Ratio ที่ต่ำลงด้วย
อ. ศิริบูรณ์ • ใช่เลย เพราะสารที่มาผสมส่วนใหญ่มีออกซิเจนในตัว จึงต้องการอากาศจากภายนอกมาผสมน้อยลง สมมุติแก๊สโซลีนผสมเมธานอลซึ่งมีออกซิเจนในตัว (อยู่ในรูปของเหลว) ในตัวเชื้อเพลิงเองก็จะมีส่วนผสมครบทั้งคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เมื่อฉีดแก๊สโซลีนเข้าไปในฝาสูบ เข้าไปในห้องเผาไหม้ เมธานอลก็จะไม่ต้องการออกซิเจนและไนโตรเจนที่มากับอากาศ มากนัก เพราะพกออกซิเจนมาเองส่วนหนึ่งแล้ว ส่วนผสมที่จะ Burn แล้วสวยงาม ไม่ว่าจะเป็น Max Power หรือ Clean Burning ก็เลยหนาขึ้น เพราะเชื้อเพลิงมีออกซิเจนในตัวอยู่แล้ว ไนโตรมีเธน เป็นเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนในตัวเยอะมาก ฉีดไนโตรมีเธนเข้าไปแล้วปิดรูไอดีไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปก็ยัง ‘เกือบสตาร์ตได้’...ผมบอกว่าเกือบ เพราะจริงๆ แล้วสตาร์ตไม่ได้ ขืนฉีด แต่ไนโตรมีเธนเข้าไปก็เจอ Hydraulic Lock เชื้อเพลิงท่วมห้องเผาไหม้ ต้องมีอากาศจากภายนอกเข้าไปอีกนิดหน่อยเครื่องที่ทำมาสำหรับไนโตรมีเธน ถึงให้แรงม้าหลายพันตัวโดยไม่ต้องแยงฝาสูบ ไม่ต้องขัดพอร์ต อัดไนโตรมีเธนเข้าห้องเผาไหม้ได้เลยเพราะตัวเชื้อเพลิงก็พกออกซิเจนเข้าไปด้วย ส่วนไนโตรเจนก็ไม่ต้องมีเยอะ เพราะทำหน้าที่แค่ช่วยกันน๊อกเท่านั้น ไนโตรมีเธนจึง ‘กันน็อก’ ไม่ค่อยดี เพราะในตัวเองไม่มีไนโตรเจน
THAIDRIVER • ทำไมถึงเลือกส่วนผสมที่มีออกซิเจนในตัว
อ. ศิริบูรณ์ • เพราะต้องการให้ไอเสียมีลักษณะออกซิเจนเหลือใช้จุดระเบิดแล้วยังมีออกซิเจนเหลืออยู่ในไอเสีย เพราะกลัวว่าในไอเสียจะมี Un-burned Hydrocarbon ปลิวเข้าจมูกลูกหลานเรา ถ้าเริ่มต้นด้วยการใส่ออกซิเจนให้มากเข้าไว้ เผาไหม้เสร็จแล้วยังมีออกซิเจนเหลือไหลออกทางท่อไอเสีย ไหลเข้าไปใน Catalytic Converter ยังมีโอกาส Burn ต่อในท่อไอเสียได้อีกด้วย ทำให้ไอเสียสะอาด ส่วนผสมที่ทั้งพวกบ้าแรงม้ากับพวกบ้าไอเสียสะอาดมีความเห็น ตรงกัน คือ ส่วนผสมที่มีออกซิเจนในตัว เมื่อนำมาผสมกับแก๊สโซลีนจะเรียกว่า Oxygenate
THAIDRIVER • ถ้าไม่อยากให้ไอเสียมี Un-burned Hydrocarbon ทำไมไม่ใช้ A/F Ratio 15:1 หลังจากเผาไหม้เสร็จแล้วจะได้มีออกซิเจนเหลืออยู่ในไอเสีย ทำไมต้องเอาออกซิเจนไปฝากไว้ในเชื้อเพลิง
อ. ศิริบูรณ์ • การฝากออกซิเจนไว้ในเชื้อเพลิง เป็นการคลุกเคล้าแบบ Premix ตั้งแต่แรกก่อนจะไปเจอกับออกซิเจน จากอากาศภายนอก เมื่อ Spray เชื้อเพลิงเข้าไปในห้องเผาไหม้ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนในตัวของเชื้อเพลิง และออกซิเจนภายนอกก็จะเคล้ากันได้ดี (Perfect Atomization) ทำให้มีโอกาสที่เครื่องจะสันดาปได้ดีกว่าการ ให้เชื้อเพลิงเข้ามาผสมกับออกซิเจนจากภายนอกล้วนๆ
THAIDRIVER • ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่า ส่วนผสมของแก๊สโซลีนที่ให้ไอเสีย สะอาดที่สุด คือ 14.7 ทำไมไม่จูน A/F Ratio เพิ่มออกซิเจนให้เป็น 15:1
เพื่อให้แน่ใจว่าไฮโดรคาร์บอนหมดแน่นอน และออกซิเจนก็จะเหลือหน่อยๆ
อ. ศิริบูรณ์ • ถ้าเครื่องนั้นเป็นเครื่องต้นกำลังแบบตั้งแท่น (StandEngine) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรอบ เช่น เครื่องปั่นไฟ รอบเดินนิ่งๆ คงที่ ก็ทำได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นเครื่องรถที่มีการเปลี่ยนแปลงรอบขึ้น-ลง จะเริ่มมีปัญหา การเร่งรอบของเครื่องส่วนใหญ่ใช้ลิ้นปีกผีเสื้อ ในรอบต่ำก็เอาลิ้นบังเอา
ไว้หน่อย เดินเบาก็บังเยอะหน่อย รอบกลางๆ ก็บังน้อยลงหน่อย กดคันเร่งเต็มเท้าก็เปิดลิ้นนอน (Wide-open Throttle) ในรอบเดินเบาลิ้นบังเกือบมิด อากาศที่วิ่งเข้าไปต้องผ่านลิ้นซึ่งหรี่ความหนาแน่นของอากาศ จึงมีไอดีอยู่นิดเดียว Geometric Compression Ratio ของเครื่องยนต์ที่มีอยู่ 10:1 ตอนลิ้นบังเหลือ มากๆ อาจจะอยู่แค่ 3:1 เท่านั้นเอง พิสูจน์ได้จากการวัดแรงดันใน Intake Manifold สมมุติตอนเดิน เบาวัดได้ 20 นิ้วปรอท (แรงดันบรรยากาศ = 1 บาร์ Absolute หรือ 30 นิ้วปรอท) แปลว่าอากาศเข้าไปในเครื่องจริงๆ ด้วยแรงดันแค่ 10 นิ้วปรอท หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของบรรยากาศ เพราะฉะนั้น Volumetric Compression Ratio จึงเหลือแค่ 3.33:1 เท่านั้นเอง ตอนเดินเบา ลูกสูบเลื่อนลงไปเพื่อดูดอากาศ แต่อากาศที่ถูกดูด เข้ามาไม่มีความหนาแน่นเนื่องจากถูกดึงยืด เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นมาบีบ กว่าจะเสมอตัวก็เหลืออยู่แค่ 3.33:1 เมื่อเริ่มเปิดคันเร่ง (Crack-open Throttle) ลูกสูบเลื่อนลงดูดอากาศแล้วคล้อยขึ้น ตรงนั้นอากาศเริ่มมีความหนาแน่นมากขึ้น ถ้าหัวฉีดยังฉีดน้ำมันในปริมาณเท่าเดิม ก็จะไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เพราะทันทีที่ Crack Open อัตราส่วนการอัดเพิ่มจาก 3.33:1 ขึ้นมาเป็น 6-7:1 อากาศครั้งต่อไปที่เข้าไปในกระบอกสูบจะมีความหนาแน่นมากกว่าเดิม แต่กล่องอีซียูยังสั่งงานไม่ทัน เพราะเพิ่งอ่านได้ว่าลิ้นอยู่ในตำแหน่งใหม่ สัญญาณจากการเปลี่ยนองศาของลิ้น ต้องวิ่งแข่งกับอากาศที่กำลังทะลักเข้ากระบอกสูบ สัญญาณต้องรีบวิ่งไปที่กล่องอีซียู แล้วบอกกล่องว่าต้องสั่งหัวฉีดให้ฉีดน้ำมันอย่างแรงเข้าไปในห้องเผาไหม้ ซึ่งในเวลานี้มีอากาศให้บีบมากขึ้น (ถึงแม้จะยังไม่ใช่ 100%) ถ้าฉีดน้ำมันไม่ทันเครื่องจะสะอึกเพราะน้ำมันบางเกินไป